วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Class#12 08.02.2011

Customer relationship management(CRM)

             การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management) คือการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด   
      
ประโยชน์ของ CRM
             1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior
             2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
             3. ใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดได้ดี มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้า
             4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
             5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
             1. ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) และระบบงานสนามด้านการขาย
             2. ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ(Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ด้านสนามและสารสนเทศต่างๆ
3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่างต่าง ๆ              ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง

Classification of CRM Applications
             • Customer-facing จุดที่ลูกค้าสามารถทำการติดต่อกับบริษัทได้ มีความสำคัญ
             • Customer-touching จุดที่ลูกค้าสามารถลองใช้สินค้าได้
             • Customer-centric intelligence การวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง operational processing และ การนำผลลัพธ์มาพัฒนา CRM applications
             • Online networking วิธีที่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ผ่าน Social Network Facebook, YouTube

Knowledge management  system (KMS)
             KMS คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร (หาความรู้ให้เจอ รวบรวม แล้วก็ share ให้คนอื่นได้รู้)
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
             • เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
             • ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
             • ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร
             • ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง

การสร้าง Knowledge Management
             • สร้างฐานความรู้ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองค์กรความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
             • สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง

กระบวนการจัดการความรู้
             • การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
             • การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
             • การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
             • การแบ่งปัน/กระจายความรู้  (Knowledge Sharing/Distribution)
             • การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
             • การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)

5202112883
สานุพัฐ รัตนมโนชัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น