วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Class#11 02.02.2011

Strategic Information System Planning
     การ วางแผนนั้นต้องมีการประเมินว่าองค์กรนั้นต้องการระบบสารสนเทศใดบ้าง และต้องใช้วิธีการใดในการได้มา รวมทั้งเมื่อไหร่ที่จะนำระบบดังกล่าวมาใช้ในองค์กร
    IS/IT Planning เป็นการวางแผนระบบ IT ทั้งในส่วน Infrastructure และ Application Portfolio ซึ่ง Infrastructure จะเป็นส่วนที่รองรับ IT เกี่ยวข้องกับทุกอย่าง โดยวัตถุประสงค์ของสารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยขั้นตอนหลักแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
    1.    Strategic Planning เป็นการกำหนดกลยุทธ์ โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายขององค์กรและระบบสารสนเทศที่สำคัญที่ต้องใช้ในการตอบสนองเป้าหมายดังกล่าว
        •    Set IS mission
        •    Access environment
        •    Access organizational objectives strategies
        •    Set IS policies, objectives, strategies
    2.    Organizational Information Requirements analysis กำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินกลยุทธ์
        •    Access organization’s information requirements
        •    Assemble master development plan
    3.    Resource Allocation Planning ประเมินปริมาณทรัพยากรที่ต้องใช้กับระบบและปริมาณเงินทุนที่ต้องใช้
        •    Develop resource requirements plan การวางแผนประเมินทรัพยากรทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ บุคลากรที่ต้องใช้ รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด
    4.    Project Planning
        •    Evaluate project and develop project plans ประเมินความคุ้มค่าของโครงการจากต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้ว่าคุ้มค่าหรือไม่ รวมทั้งระบุหน้าที่งานที่ต้องทำ วางแผนงานตามช่วงเวลา

The business systems planning (BSP) model

    BSP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการในการวางแผนระบบสารสนเทศ โดยถูกคิดค้นขึ้นโดย IBMเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมองภาพรวมขององค์กร ทั้ง units, functions, process และ data elements ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลหลักขององค์กรได้อย่างทั่วถึง โดยหลักการของ BSP คือ
        1.    Business processes กรบวนการที่องค์กรจะต้องนำไปปฏิบัติ และ
        2.    Data classes ข้อมูลประเภทใดที่จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการ
         ข้อดีของ BSP คือ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เหมาะสำหรับองค์กรที่ไม่เคยมีการวางแผนมาก่อน ส่วนข้อเสียคือ ใช้เวลามาก มีข้อมูลในการวิเคราะห์มาก และคนให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากจนลืมอนาคต

Critical success factor (CSF) 

    CSF เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศให้พร้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยเน้นไปที่ประเด็นหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการ ประสบความสำเร็จขององค์กร โดย CSF จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม โดย CSF มีขั้นตอนดังนี้
        1.        Aggregate and Analyze Individual CSFs
        2.        Develop Agreement on Company CSFs
        3.        Define Company CSFs หาข้อสรุปและระบุ CSF ขององค์กร
        4.        Define DSS and Database
        5.        Develop IS Priorities ระบุความสำคัญของระบบสารสนเทศที่ต้องการ 
    ข้อดีของ CSF คือใช้ข้อมุลจำนวนไม่มาก และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี ส่วนข้อเสียคือ การใช้วิจารณญาณของผู้ดำเนินการนั้นส่งผลต่อการวิเคราะห์อย่างมาก

5202112883
สานุพัฐ รัตนมโนชัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น